วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์

 ด้วยประการที่เป้าหมายหลักของการศึกษารัฐศาสตร์คือ การแสวงหาหนทางหรือการที่จะทำความเข้าใจ (understanding) ถึงที่มาและความเป็นไปของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในทางการเมือง เพื่อที่จะหาคำอธิบายและคาดการณ์แนวโน้มของปรากฎการณ์ดังกล่าวในอนาคต ไม่ว่าจะมีการนำความรู้ด้านนี้ไปใช้เพียงใด หรือไม่ และเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตามการที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมืองได้อย่าง ชัดเจนนั้น จะต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์เป็นการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ ด้วยการชี้ให้เห็นถึงระดับ ประเภทและทิศทางของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ในภาวะการณ์หนึ่ง อันทำให้เข้าใจได้ว่าปรากฎการณ์ทางการเมืองนั้นคืออะไร ทำไมจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร 31 หรือกล่าวได้ว่า นักรัฐศาสตร์จะใช้แนวทางการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) สำหรับการมองขอบข่าย สาระ และปัญหาของเรื่องรวมหรือปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เขาสนใจ

            ความพยายามที่จะทำความเข้าใจและอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวทางการศึกษาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ขึ้นมาอย่างหลากหลาย เริ่มจากแนวทางที่เก่าแก่ที่สุดคือการนำแนวคิดเชิงปรัชญามาใช้พิจารณาและ เลือกเป้าหมายทางการเมืองเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลในเป้าหมายนั้น นอกจากนี้ยังได้แก่ แนวคิดเชิงอำนาจ แนวคิดเรื่องสถาบัน แนวคิดในเรื่องกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นต้น32 ซึ่งแต่ละแนวทางก็มีกรอบการมองและวิเคราะห์การเมืองแตกต่างกันลงไปในหลักการ และรายละเอียด ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป

           นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องกันว่า ในการศึกษารัฐศาสตร์ซึ่งได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณนั้น มิได้มีเพียงแนวทางการวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาแบบหนึ่งแบบใดที่ได้ รับการยอมรับกันโดยทั่วไป แม้อาจปรากฎว่าแนวทางการศึกษาวิเคราะห์หรือระเบียบวิธีการศึกษาบางอย่างจะ ได้รักความนิยมในแง่ที่ถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบหรือแนวทางในการศึกษากัน อย่างกว้างขวาง แล้วแต่ความพยายามของนักรัฐศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยที่ต้องการจะทำความเข้า ใจการเมืองในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการอธิบายและการนำเอาเหตุผล ข้อเท็จจริงไปสรุปเพื่อสร้างรูปแบบและแนวความคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้อธิบาย ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น

          แนวทางการศึกษาวิเคราะห์ (approach) หมายความได้ว่า เป็นวิธีการกว้าง ๆ ในการพิจารณาสืบสาวราวเรื่องหรือตรวจสอบในเรื่องการเมือง 33 ซึ่งแตกต่างไปจากระเบียบวิธีการศึกษา (method) ที่หมายความถึงวิถีทางที่คน ๆ หนึ่งใช้ไนการศึกษา ไม่ว่าจะมีนิยามหรือคำจำกัดความ (definition) หรือแนวทางในการวิเคราะห์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาที่เป็นระบบหรือไม่ หรือมีการสร้างแบบจำลองหรือตัวแบบ (mode) ของการศึกษาไว้หรือไม่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี พบว่า นักวิชาการยังมีความเห็นแตกต่างกันไปบ้างเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวิเคราะห์ รัฐศาสตร์ อันเป็นผลมาจากมุมมองหรือทัศนะในการพิจารณาภูมิหลังของรัฐศาสตร์แต่ละแนวทาง การศึกษา ซึ่งผู้เขียนได้นำมารวบรวมไว้ และขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า แนวทางการศึกษาวิเคราะห์” “แนวทางการศึกษา” “แนวทางการวิเคราะห์” แม้จะแตกต่างกันบ้างในเนื้อความ แต่ก็หมายความถึงประการเดียวกันคือ แนวทางการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์หรือแนวทางการศึกษาวิเคราะห์การเมือง นั่นเอง

โชว์หลีดรัฐศาสตร์ ม. ตานี


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=c-X2Kj3saWI


ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=YnBVyGZU2rY

จำอวด